ความปลอดภัยในการทำงาน สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น
อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน และมีผลกระทบกระเทือนต่องานโดยต้องทำให้งานหยุดชะงัก เครื่องมือ เครื่องจักร ชำรุดเสียหาย ทางด้านตัวผู้ประสบอุบัติเหตุ อาจจะรอดได้อย่างหวุดหวิด บาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต
สาเหตุเครนล้ม
ผิดพลาดเนื่องจากการสภาพพื้นดินที่อ่อนนุม ทำให้เอียงและคว่ำได้
ผิดพลาดเนื่องจากโครงสร้างและเครื่องจักรที่ไม่ดี
ผิดพลาดจากธรรมชาติ เช่นลมแรง
ด้วยเหตุที่วงการรถเครนเมืองไทย ไม่ได้มีหน่วยงานใดรวบรวมข้อมูลจำนวนรถเครนที่มี รวมถุงการเกิดอุบัติเหตุ และสาเหตุไว้อย่างเป็นกิจจะลักษณะ และเป็นระบบ ฉะนั้นจึงเป็นข้อจำกัดประการหนึ่ง หากจะต้องมีการนำข้อมูลเพื่อประกอบการผลักดันในการพัฒนาวงการเครน หรือการที่จะเรียกร้องให้หรือไม่ให้ภาครัฐออกมาตรการที่จะเป็นการส่งเสริม หรือที่จะเป็นอุปสรรคในการประกอบการ
สาเหตุของอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นเอง จะต้องมีสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นเองเสมอ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือป้องกันได้และที่ป้องกันไม่ได้ ที่ป้องกันได้ เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ
- สภาวะที่ไม่ปลอดภัย
- การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัยที่ป้องกันไม่ได้ คือ ภัยธรรมชาติ
อุบัติเหตุที่ป้องกันได้ มีสาเหตุของอุบัติเหตุ เกิดจาก
1.สภาวะที่ไม่ปลอดภัย เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุประมาณ 10% ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด ที่มาของสาเหตุอาจจะแบ่งได้ดังนี้
- เครื่องจักร อยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย เช่น ไม่มีอุปกรณ์ช่วยความปลอดภัย เป็นต้น
- สภาพพื้นที่ทำงาน อยู่ในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย เช่น อยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง ปฏิบัติงานใกล้ที่ลาดชัน สภาพพื้นที่ไม่มั้นคงแข็งแรง เป็นต้น
2.การปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย (การกระทำที่ไม่ปลอดภัย) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุประมาณ 88% ของอุบัติเหตุทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น มาจากองค์ประกอบ 3 ประการ
- ขาดความรู้ เป็นสาเหตุร้ายแรงมากที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เพราะผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เช่น ขาดความรู้เกี่ยวกับการบังคับปั้นจั่นคันนั้น ขาดความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ผูกมัด ยกเคลื่อนย้ายวัสดุ เป็นต้น
- เสี่ยง การที่ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้เรื่องความปลอดภัยดีแต่ชอบปฏิบัติงานด้วยการเสี่ยง เช่น ใช้ปั้นจั่นเกินพิกัด ปฏิบัติงานด้วยความรีบเร่งลัดขึ้นตอนไม่ใช้เครื่องช่วยความปลอดภัย เช่นใช้ระบบฝืน PTO2 สภาพพื้นที่อ่อนแต่ใช้แผ่นเหล็กขนาดเล็กรองขาMobile Crane หรือไม่ได้สำรวจพื้นที่ก่อนปฏิบัติงานการใช้ปั้นจั่นโดยไม่มีหน้าที่มอบหมาย เล่นตลกคะนองในขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
- ทัศนคติไม่ถูกต้อง เช่น มีความรู้สึกต่ออุบัติเหตุว่าเกิดขึ้นเพราะโชคร้าย เคราะห์ร้าย ดวงไม่ดี ฯลฯ จึงไม่ได้หาวิธีการป้องกันอุบัติเหต
- เกิดจากความประมาทของผู้ขับเครน
หลักการความปลอดภัยในการทำงานเบื้องต้น
- ปฏิบัติตามกฏหมายความปลอดภัยในการทำงานโดยเคร่งครัด
- ใชั้ปั้นจั่นและอุปกรณ์ประกอบการยก เคลื่อนย้ายวัสดุ ถูกวิธี ถูกขนาด และเหมาะสมกับงาน
- แต่งกายให้ถูกต้อง และใช้อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ทุกครั้งที่ปฏิบัติงานตามกฏหมายความปลอดภัยกำหนด
- หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย หรืออยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน
- ตรวจสอบสภาพปั้นจั่นและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานให้ถูกต้องเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ
- รู้ตำแหน่งจุดติดตั้งเครื่องดับเพลิงและวิธีใช้งาน
- ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุให้รีบช่วยเหลือกันทันที
คุณสมบัติและข้อปฎิบัติของผู้บังคับปั้นจั่น
- มีจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัย คำนึงถึงการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยต่อตนเอง ส่วนรวม เครื่องจักรและอื่นๆ เป็นอันดับแรก
- หากพบจุดอันตรายใดๆ ให้หยุดการปฏิบัติงานก่อน ทำการบ่งชี้จุดอันตราย และแก้ไขจุดอันตราย ก่อนที่จะปฏิบัติงานต่อไป เช่น หากพบจุดอันตรายจากการผูกมัดวัสดุของผู้ยึดเกาะวัสดุ ให้แจ้งและอธิบายให้ผู้ยยึดเกาะวัสดุเข้าใจและให้ทำการแก้ไขก่อนที่จะปฏิบัติงานในอันดับต่อไป
- ผ่านการอบรมการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
- มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับปั้นจั่นที่จะบังคับและความรู้ตามหลักสูตรดังกล่าวข้างต้นเป็นอย่างดี
- มีสุขภาพแข็งแรงไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการบังคับปั้นจั่น เช่น หูหนวก โรคลมชัก เป็นต้น
- หากวันใดร่างกายหรือจิตใจไม่พร้อมปฏิบัติงาน ให้ลาหยุดพักก่อน เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การทะเลาะกับครอบครัวยังมีอารมณ์ค้างอยู่ เป็นต้น
- ปฏิบัติงานด้วยความมีสติ สมาธิและความรอบคอบ
- ปฏิบัติงานตามขั้นตอน นุ่มนวล ไม่เร่งรีบ หรือลัดขั้นตอน
- ปฏิบัติงานตามคู่มือการใช้งานปั้นจั่นโดยเคร่งครัด
- ตรวจสอบสภาพของปั้นจั่นและอุปกรณ์ก่อนเริ่มปฏิบัติงานทุกครั้ง หากพบสิ่งผิดปกติของปั้นจั่นให้เเจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขทันที
- ห้ามบังคับปั้นจั่นที่มีสภาพชำรุด จนกว่าจะได้รับการแก้ไขซ่อมแซมกลับสู่สภาพปกติ
- ห้ามใช้งานปั้นจั่นเกินพิกัดยก ห้ามใช้ระบบฝืน เช่น PTO2 ของรถปั้นจั่น หรือตัดระบบความปลอดภัยของปั้นจั่นออก ห้ามใช้ระบบทิ้งรอกของรถปั้นจั่นระหว่างการยกเคลื่อนย้ายวัสดุอยู่
- ให้ปฏิบัติงานตามสัญญาณที่ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่นสั่งให้
คุณสมบัติและข้อปฎิบัติของผู้บังคับปั้นจั่น
“ผู้บังคับปั้นจั่น” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีหน้าที่บังคับการทำงานของปั้นจั่น ให้ทำงานตามความต้องการ
“ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น” หมายความว่า ผู้ซึ่งมีหน้าที่ให้สัญญาณมือหรือสัญญาณสื่อสารชนิดอื่นกับผู้บังคับปั้นจั่น
“ผู้ยึดเกาะวัสดุ” หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่ผูก มัด หรือเกี่ยววัสดุที่ให้ปั้นจั่นยก
“ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น” หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่อำนวยการใช้ หรือสั่งการให้ผู้บังคับปั้นจั่นปฎิบัติตามตลอดจนพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทำการยก